ภาพกิจกรรม : ดูทั้งหมด

มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดงานการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 19: Research and Innovation: Wisdom for Entrepreneurial Society and Internationalization” อย่างยิ่งใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 33 ปี มหาวิทยาลัยนเรศวร

24 กรกฎาคม 2566
รายละเอียด :

มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดงานการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 19: Research and Innovation: Wisdom for Entrepreneurial Society and Internationalization” อย่างยิ่งใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 33 ปี มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวเปิดงาน และศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงกรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ นักวิจัย นักวิชาการทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมการประชุมวิชาการดังกล่าวฯ ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งเป้าที่จะสร้างงานวิจัยชั้นแนวหน้า ที่มีความหลากหลายตามศักยภาพของนักวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค และประเทศ ผ่านกลไก Enterprise Collaboration และ International Linkage เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัย เพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” (University for Entrepreneurial Society)

"Research and Innovation: Wisdom for Entrepreneurial Society and Internationalization" เป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยมุ่งที่จะพัฒนาการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญ สู่การขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยมุ่งเน้นให้ บุคลากรในมหาวิทยาลัยมีสมรรถนะ และทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต เพื่อให้มหาวิทยาลัยก้าวทันไปพร้อมกับสังคมไทย ให้พัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก

ภายในงานมีกิจกรรมทางวิชาการการปาฐกถาพิเศษ การนำเสนอผลงานทางวิชาการ Oral/Poster Presentation ดังนี้

🔰การปาฐกถาพิเศษ “The Genome of Extinct Hominins, Human Evolution and Ancient DNA in Thailand”

o Prof.Dr.Svante Pääbo, Director of the Max Planck Institute for Revolutionary Anthropology (MPI-EVA) in Leipzig, Germany, The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2022

o Assoc.Prof.Dr. Wibhu Kutanan, Faculty of Sciences, Naresuan University

🔰การปาฐกถาพิเศษ "Why We Need Social Entrepreneurship"

o Prof.Dr.Fevzi Okumus, Rosen College of Hospitality Management, University of Central Florida

🔰การนำเสนอผลงาน Oral/Poster Presentation โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศและต่างประเทศร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลงานและเป็นผู้บรรยาย Invited Lectures ห้องนำเสนอย่อย 7 ห้อง ดังนี้

• ROOM1: Machine learning and AI

ศาสตราจารย์ ดร.ระเบียน วังคีรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม

• ROOM2: Progress on Agricutural, Energy, and Environmental Innovation

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

รองศาสตราจารย์ ดร. อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์

• ROOM3: Herbal medicines, food supplements and cosmetics

Prof.Dr.Min Hsiung

Prof.Dr.Raimar Löbenberg

Assoc.Prof.Dr.Neti Waranuch

• ROOM4: Medical Sciences and health economics

Prof.Dr.Nathorn Chaiyakunapruk

Prof.Dr.Paul James Brindley

Prof.Dr.Sang-Bing Ong

ROOM5: Human and society mutation in the digital disruption

ผู้ช่วยศาสตราตราจารย์ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต

ROOM6: Community Culture and Local Development

รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล

ดร.รัติยา ฟิชเชอร์

ROOM7: Purposeful education and research

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร หลินเจริญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์

——

#NRIC

#NRIC19

#NU #NaresuanUniversity