ภาพกิจกรรม : ดูทั้งหมด

กองการวิจัยและนวัตกรรม โดยคลินิกวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "วิธีการเขียนโครงร่างการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์: Research Impact Evaluation for Research Utilization"

12 มกราคม 2567
รายละเอียด :

DRI@NU เตรียมความพร้อมนักวิจัย วิธีการเขียนโครงร่างการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการในการลงทุนการวิจัยของประเทศ และการประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบของงานวิจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

วันที่ 12 มกราคม 2567 ณ ร้าน Muiwa Home Cafe' and Eatery กองการวิจัยและนวัตกรรม โดยคลินิกวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "วิธีการเขียนโครงร่างการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์: Research Impact Evaluation for Research Utilization" โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดกิจกรรม และได้รับเกียรติจากรองศาตราจารย์ ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล รองศาตราจารย์ ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภสม สินเพิ่มสุขสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายและปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมครั้งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 70 คน

การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่อาจารย์/นักวิจัย และบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้าใจถึงแนวทางการประเมินผลกระทบจากงานวิจัย กรอบแนวคิดการประเมิน ทฤษฎี/เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ สำหรับการประเมินผลกระทบจากงานวิจัย การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากงานวิจัย และวิธีการใช้ Template ของ Impact Pathway และ Excel สำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์จากการวิจัย อีกทั้งได้ลงมือปฏิบัติจริงจากตัวอย่างกรณีศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการวิจัยเรื่อง "ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมจากสารสกัดใบสัก" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี เจริญสิทธิ์ คณะเภสัชศาสตร์ โครงการวิจัยเรื่อง "การยกระดับการผลิตถุงปลูกย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้ได้มาตรฐานระดับอุตสาหกรรม" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ คณะวิทยาศาสตร์